วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

บุคลิกของครู

การพัฒนาบุคลิกภาพสำหรับครู

ความคิดรวบยอด
           1. บุคลิกภาพเป็นปัจจัยช่วยให้ประสบความสำเร็จในการประกอบ
วิชาชีพครู
           2. ครูต้องพัฒนาบุคลิกภาพทางด้านร่างกายด้านสังคมด้านอารมณ์
และด้านสติปัญญาให้เหมาะสมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
           3. การพัฒนาบุคลิกภาพเป็นเจตจำนงของแต่ละบุคคล ที่ต้องปฏิบัติ
ตนอย่างเป็น กระบวนการ
           4. สัปปุริสธรรม 7 เป็นธรรมที่ใช้เป็นเครื่องช่วยในการพัฒนาบุคลิก
ภาพที่พึงประสงค์ ของครูไทย
สาระการเรียนรู้

ความหมายของบุคลิกภาพ
       
        ไพพรรณ  เกียรติโชติชัย (2536:91) อธิบายเรื่องบุคลิกภาพไว้ว่า
บุคลิกภาพ หมายถึง ลักษณะทั้งภายนอกและภายในที่รวมอยู่ในตัวบุคคลใด
บุคคลหนึ่งและเป็นผลทำให้บุคคลนั้น    มีความแตกต่างไปจากบุคคลอื่น ๆ
บุคลิกกภาพแบ่งออกเป็น 2 สภาพด้วยกันคือ
            1. บุคลิกภาพภายนอก    หมายถึง   บุคลิกภาพที่สามารถสังเกต
เห็นหรือสัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย  บุคลิกภาพภาย
นอก นี้สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้โดยการฝึก เลียนแบบ  และสามารถ
วัดผลได้ทันที บุคลิกภาพภายนอกที่สำคัญที่สุด คือ บุคลิกภาพทางกาย และ
วาจา
             2.บุคลิกภาพภายใน หมายถึง บุคลิกภาพที่ไม่สามารถมองเห็น
ได้ชัดเจน     เป็นส่วนที่สัมผัสได้ค่อนข้างยากและต้องใช้เวลาในการสัมผัส
บุคลิกภาพภายใน
การพัฒนาบุคลิกภาพของครู
           การพัฒนาบุคลิกภาพ หมายถึงการวิเคราะห์บุคลิกภาพของแต่ละคน
ว่าเหมาะสมเพียงใดแล้วพยายามปรับปรุงแก้ไขส่วนที่ยังขาดหรือบกพร่องให้
เหมาะสม หรือเป็นไปในลักษณะที่ตนปรารถนา
           การพัฒนาบุคลิกภาพของครู หมายถึง การแก้ไข ปรับปรุงและฝึกฝน
บุคลิกภาพทั้งทางด้านกาย ด้านอารมณ์    ด้านสังคม และด้านสติปัญญาของครู ให้เหมาะสมในการประกอบวิชาชีพครู อื่นประเมินด้วยเพื่อความมั่นใจ
บุคลิกภาพที่พึ่งประสงค์ของครูไทย    บุคลิกภาพที่พึ่งประสงค์ของครูไทยนั้น
อาจใช้ลักษณะของ สัปปุริสธรรม7 เป็นหลักยึด   ครูผู้มี สัปปุริสธรรม7ย่อมเป็นครู
ที่มีบุคลิกภาพที่ดี สัปปุริสธรรม7ได้แก่
          1. ธัมมัญญุตา รูหลักการอยู่ร่วมกัน รู้หน้าที่ รู้หลักความจริงของธรรม
ชาติของ
          2. อัทถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายของการกระทำอันใด
          3. อัตตัญญุตา รู้บทบาทภาวะหน้าที่ความสามารถ หรือรู้ว่าตนเองควร
ทำอะไร
          4. มัตตัญญุตา รู้จักความประมาณตน
          5. กาลัญญุตา รู้ว่าเวลาไหนควรทำอะไร
          6. ปริสัญญุตา รู้จักท้องถิ่น ชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี
          7. ปุคคจัญญุตา   รู้ความแตกต่างของบุคคล   ถ้าดีควรยกย่อง ถ้าไม่ดี
ควรตำหนิสั่งสอน

           บุคลิกภาพคือ ลักษณะภายนอก และ ภายในอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละ
บุคคลซึ่งมีพันธุกรรม    และ    สิ่งแวดล้อมเป็นตัวแปลสำคัญแต่บุคลิกเป็นสิ่งที่
สามารถสำรวจและสังเกตได้จึงสมารถปรับปรุง ส่งเสริม และพัฒนาให้เป็นบุคลิก
ภาพให้ดีได้ครูจำเป็นต้องเป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพที่ดีและเหมาะสมกับการเป็นครู
เพราะครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งยังต้องเป็นผู้พัฒนาศิษย์ให้มีบุคลิกภาพ
ที่ดีและเหมาะสมตามที่สังคมปรารถนาอีกด้วย    การที่ศิษย์จะออกไปสู่สังคมและ
ดำรงชีวิตในสังคมได้   อย่างมีความสุขนั้น  ต้องเป็นคนที่มีบุคลิกภาพ  เหมาะสม
ด้วยอย่างไรก็ตามสัปปุริสธรรม7   เป็นธรรมที่ครูสามารถใช้เป็นเครื่องช่วยทั้งใน
การพัฒนาบุคลิกภาพของครู     และสร้างเสริมค่านิยมในวิชาชีพครูได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับครูแต่ละคนว่ามีปัญญาและมีความพากเพียรเพียงใด
องค์ประกอบที่สอง บุคลิกภาพของครู บุคลิกภาพหมายถึงลักษณะโดยรวมของบุคคลทั้งลักษณะภายนอกและลักษณะภายใน ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ บางอย่างก็แสดงออกให้ผู้อื่นรับรู้ได้ บางอย่างก็ไม่แสดงออกให้ผู้อื่นรับรู้ บุคลิกภาพมีส่วนอย่างสำคัญต่อการปรับตัวในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ องค์ประกอบของบุคลิกภาพของครูสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 องค์ประกอบ ดังนี้
                1) ด้านกายภาพ หมายถึง รูปร่างหน้าตา กิริยาอาการ และการแต่งกายเป็นสำคัญ ครูที่มีบุคลิกภาพด้านกายภาพเป็นปกติและน่าศรัทธา น่านับถือ จะมีโอกาสประสบความสำเร็จ ในการอยู่ร่วมกับลูกศิษย์มากกว่าครูที่มีบุคลิกภาพด้านกายภาพที่ผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผิดปกติในทางที่ไม่ดี หากจะกล่าวเฉพาะในด้านการแต่งกายแล้ว อาจจะสรุปได้ว่าการแต่งกายที่เหมาะสมที่สุดของครู คือการแต่งกาย (ซึ่งรวมถึงการแต่งหน้าและทรงผมด้วย) ที่สะอาด เรียบร้อย ดูดี น่านับถือ ซึ่งภาษาอังกฤษใช้คำว่า Neat and Clean นั่งเอง
                2) ด้านวาจา หมายถึง การแสดงออกโดยทางวาจา บุคลิกภาพ ทางวาจาที่ดีของครู หมายถึง การพูดด้วยถ้อยคำที่ถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสมกับวุฒิภาวะของลูกศิษย์ ซึ่งหมายถึง ไม่ยากหรือง่ายจนเกินไป การพูดด้วยน้ำเสียงที่แฝงด้วยความเมตตา ปรารถนาดี นุ่มนวล การพูดด้วยลีลาที่เหมาะสม ไม่ช้าไม่เร็วจนเกินไป และรวมไปถึงการพูดน้อย หรือเงียบขรึมจนเกินไป หรือการพูดมากจนน่ารำคาญด้วย
                3) ด้านสติปัญญา หมายถึง การมีไหวพริบที่ดี สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เหมาะสม มีการตัดสินใจที่ดี และการมีอารมณ์ขันที่เหมาะสม ซึ่งหมายถึงการสร้างอารมณ์ขันให้แก่ลูกศิษย์ และการรับอารมณ์ขันของลูกศิษย์ได้ดี
4) ด้านอารมณ์ หมายถึง การควบคุมอารมณ์ได้ดีไม่แสดงออกซึ่งความรู้สึก ต่าง ๆ ได้ง่ายจนเกินไป ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์มีใจ อารมณ์โกรธ อารมณ์เศร้า หรืออารมณ์หงุดหงิดรำคาญก็ตาม ครูที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่เหมาะสมคือครูที่มีอารมณ์ดี มั่งคง เสมอต้นเสมอปลาย ซึ่งจะแสดงออกให้เห็นทางสีหน้า แววตา ท่าทาง และวาจาให้ลูกศิษย์รับรู้ได้ แต่จะอย่างไรก็ตามครูก็อาจจะโกรธลูกศิษย์บ้างก็ได้หากมีเหตุผลอันสมควรให้โกรธ ไม่ใช่โกรธเพราะครูอารมณ์ไม่ดี และก็มีครูจำนวนไม่น้อยที่ดูเหมือนจะโกรธหรือขัดใจกับลูกศิษย์อยู่เป็นเนืองนิจ แต่ลูกศิษย์ก็สามารถปรับตัวได้เพราะเกิดการเรียนรู้ว่านั่นคือลักษณะของครู ซึ่งก็คงเป็นไปตามคำกล่าวที่ว่า หากอารมณ์ดีเสมอต้นเสมอปลายไม่ได้ ก็ขอให้อารมณ์ร้ายคงเส้นคงวา ดีกว่าคุ้มดีคุ้มร้าย นั่นเอง เพราะครูที่มีอารมณ์คุ้มดีคุ้มร้ายจะทำให้ลูกศิษย์ไม่สามารถปรับตัวได้ง่าย ๆ
                5) ด้านความสนใจ หมายถึงการมีความกระตือรือร้นที่จะรับรู้เรื่องหรือความรู้ต่าง ๆ ของสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้อย่างหลากหลาย ความสนใจที่กว้างขวางย่อมเกิดจากประสบ-การณ์ที่หลากหลายของบุคคลนั้น ๆ ครูที่มีความสนใจกว้างขวางจะเป็นครูที่สามารถเลือกใช้คำพูดหรือการกระทำให้ถูกใจคนได้หลายลักษณะ ซึ่งเป็นไปตามหลักของการสื่อสารความคิดที่ว่า บุคคลที่มีความสนใจตรงกันจะสื่อสารความคิดกันได้ดี แต่เนื่องจากลูกศิษย์ของครูมีจำนวนหลายคนและหลากหลายความสนใจ ครูจึงต้องมีความสนใจหลากหลายตามไปด้วย มิเช่นนั้นแล้วก็จะถูกใจลูกศิษย์ส่วนน้อย แต่ไม่ถูกใจลูกศิษย์ส่วนมาก
            โดยปกตินักเรียนจะชอบเรียนกับครูที่มีบุคลิกภาพดี เพราะชอบที่จะอยู่ใกล้ ๆ และเมื่อมีความชอบในตัวครูแล้ว ก็อาจนำไปสู่การมีความอดทน และความพยายามที่จะเรียนรู้วิชาที่ครูสอนด้วย แต่ในทางตรงกันข้ามหากนักเรียนไม่ชอบบุคลิกภาพของครูเสียแล้ว ก็ย่อมไม่อยากอยู่ใกล้ ๆ ไม่อยากได้ยินเสียง และไม่อดทนไม่พยายามที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่ครูสอนไปด้วย แม้จะเป็นนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาก็เป็นเช่นนี้ เพราะเขายังไม่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์มากพอที่จะอดทน เพื่อการเรียนรู้กับครูที่น่ากลัวหรือน่ารำคาญได้ http://www.google.co.th/search?q=การ+พัฒนา+บุคลิกภาพ+ของ+ครู&hl=th&start=20&sa=N



แนวโสน้มและการพัฒนาหลักสูตร

ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
                                                                                                                ผู้สอน  ผศ.ดร.สุภาพร  แพรวพนิต
                ในบทบาทของครูผู้สอนจะต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการพัฒนาหลักสูตร  ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร  เกิดจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนไม่เข้าใจกระบวนการของการพัฒนาหลักสูตร
                ดังนั้นแนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตร บุคลากรทุกฝ่ายของสถานศึกษาจะต้องศึกษาเรื่องดังต่อไปนี้
1.               ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักสูตร
ความหมายของคำว่าหลักสูตร     
ความหมายของคำว่าหลักสูตรที่เป็นที่ยอมรับในปัจจุบันคือมวลประสบการณ์ทั้งหมดที่จัดใหกับผู้เรียน 
ซึ่งหลักสูตรมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ จุดมุ่งหมาย  ขอบข่ายเนื้อหา และความสัมพันธ์กับเวลา  โดยรูปแบบหลักสูตรระดับห้องเรียน
2.               ข้อมูลพื้นฐานของการพัฒนาหลักสูตร
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรที่สำคัญ มี 5 ด้าน  ได้แก่  ด้านปรัชญาการศึกษา  ด้านจิตวิทยา
การศึกษา  ด้านสังคมและวัฒนธรรม  ด้านวิชาการ  ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะต้องนำมาวิเคราะห์  เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตร  และการจัดองค์ประกอบของหลักสูตรที่สัมฤทธิ์ผลต่อไป
3.               รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของสงัด  อุทรานันท์
                สงัด  อุทรานันท์  ได้เสนอแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรโดยยึดหลักการพัฒนาหลักสูตรทั้งระบบ  โดยแบ่งออกเป็นการร่างหลักสูตร  การนำหลักสูตรไปใช้  และการประเมินผลหลักสูตรทั้งระบบอีกด้วย  แบ่งออกเป็นขั้นตอนซึ่งสามารถแสดงเป็นรูปวัฏจักรของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรได้ดังภาพประกอบ
                                                                         การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน

                             การประเมินผลการใช้                                                             การกำหนดจุดมุ่งหมาย
                                         หลักสูตร                                                          
                                                                   ปรับปรุง
                                                                     แก้ไข


                                                                                                                                                        
                           การนำหลักสูตรไปใช้                                                                                                        การคัดเลือก
                                                                                                                                                                และจัดเนื้อหาสาระ
                                                             
                                                                                          การกำหนดมาตรการ
                                                                               การวัดและประเมินผล
                                                                                                     
ภาพประกอบ  วัฏจักรกระบวนการพัฒนาหลักสูตรของ  สงัด  อุทรานันท์


รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของวิชัย  วงษ์ใหญ่
วิชัย   วงศ์ใหญ่  (2543 , น. 77)  ได้เสนอรูปแบบและแนวคิดของขั้นตอนกระบวนการพัฒนาหลักสูตรไว้
ดังนี้
1.             การกำหนดจุดมุ่งหมาย  หลักการ  โครงสร้าง  และการออกแบบหลักสูตร
2.             ยกร่างเนื้อหาสาระแต่ละกลุ่มประสบการณ์  แต่ละหน่วยการเรียนและรายวิชา
3.             นำหลักสูตรที่พัฒนาแล้วไปทดลองใช้ในโรงเรียนนำร่องและปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง
4.             อบรมครู  ผู้บริหารทุกระดับ  และบุคลากรทางการศึกษาให้เข้าใจในหลักสูตรใหม่
5.             นำหลักสูตรไปใช้ปฏิบัติการสอนในโรงเรียน  และประกาศใช้หลักสูตร  โดยมีกิจกรรมการใช้หลักสูตรใหม่ ดังนี้
                        การแปลงหลักสูตรไปสู่การสอน  คือ การจัดทำวัสดุหลักสูตร  ได้แก่  เอกสารและอุปกรณ์การเรียนการสอนที่จำเป็น
                        ผู้บริหารจัดเตรียมสิ่งต่าง ๆ เช่น บุคลากร  วัสดุหลักสูตร และบริการต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่อบรมครูและบุคลากรฝ่ายบริหารหลักสูตร  ห้องสมุด  ห้องเรียน  รวมทั้งการจัดสรรงบประมาณ
                        การสอน  เป็นหน้าที่ของครูปฏิบัติการทั่วไป
                        การประเมินผล  ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การประเมินผลการเรียนของนักเรียน  และการประเมินผลหลักสูตร  ตั้งแต่ประเมินเอกสาร  ผลการนำหลักสูตรไปใช้  และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ซึ่งจะต้องประเมินอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
4.  การบริหารหลักสูตร
การบริหารหลักสูตร  เป็นการนำกระบวนการบริหารมาใช้ในขั้นตอนการวางแผนหลักสูตร  การนำ
หลักสูตรไปใช้  ตลอดจนการประเมินผลหลักสูตร  ซึ่งการบริหารหลักสูตรใด ๆ ให้มีประสิทธิภาพต้องอาศัยบุคคลที่เกี่ยวข้องร่วมมือกัน  แต่สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่ผู้บริหารหลักสูตรควรคำนึงถึงคือ การเตรียมครูผู้สอน เพราะว่าครูผู้สอนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะช่วยให้การใช้หลักสูตรนั้นบรรลุเจตนารมณ์ของหลักสูตร  โดยครูจะเป็นผู้นำหลักสูตรไปสู่การเรียนการสอนภายในห้องเรียน  ดังนั้น จึงกล่าวไว้ว่า ครูผู้สอน คือ หัวใจของหลักสูตร  และคุณภาพของครูผู้สอนจึงเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะนำไปสู่การบรรลุจุดหมายของหลักสูตร  ด้วยเหตุนี้หน่วยงานที่ผลิตครูนั้น  การผลิตครูหรือพัฒนาครูควรตระหนักถึงคุณภาพของครูด้วย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตครู  ด้วยเหตุนี้จึงควรผลิตให้มีคุณภาพเพียงพอที่จะออกไปปฏิบัติหน้าที่ตามโรงเรียน และสามารถออกไปใช้หลักสูตรได้  โดยสามารถแปลงหลักสูตรไปสู่การเรียนการสอนได้  ดังนั้น  หน่วยงานที่ผลิตครูควรให้ความสำคัญตั้งแต่การคัดเลือกนักศึกษาเข้ามาเรียนวิชาครูหลักสูตรสำหรับผลิตครู และกระบวนการผลิตครู  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู  ส่วนกรณีครูประจำการนั้น  หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องควรมีการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง  มีการติดตามและประเมินผลอย่างจริงจัง  ถ้าทุกฝ่ายให้ความร่วมมือกันที่จะเตรียมและพัฒนาครูให้มีคุณภาพ  การศึกษาในอนาคตของประเทศก็คงจะมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

                5.  นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
                วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ถือว่ากระบวนการสำคัญในการจัดการเรียนการสอน  ถ้าครูผู้สอนรู้จักเลือกวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ  ก็จะส่งผลต่อการบรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร  อย่างไรก็ตาม  วิธีการจัดการเรียนการสอนต่าง ๆ ก็จะมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันไป  ซึ่งจะต้องอาศัยการเรียนรู้กระบวนการเหล่านั้นอย่างเข้าใจ  อันนำไปสู่การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ  และตอบสนองหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น
                6.  การประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตรมีความสำคัญอย่างมากในกระบวนการจัดการศึกษา  เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการ
ควบคุมคุณภาพ  การประกันคุณภาพของการศึกษาหลาย ๆ ระดับ  ตั้งแต่ระดับห้องเรียน  ระดับโรงเรียน  ระดับเขตจนถึงระดับชาติ  ผู้ที่มีบทบาทในการประเมินทั้งในระดับผู้จัดทำนโยบายการศึกษา  ผู้กำกับดูแล  จนถึงระดับผู้ปฏิบัติ  จึงควรทำความเข้าใจกับประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของการประเมินหลักสูตรให้ชัดเจน  เพื่อจะได้กำหนดวางแผนการประเมินหลักสูตรที่สอดคล้องกับเป้าหมายของการประเมิน และสามารถนำผลการประเมินหลักสูตรไปใช้ได้จริง
                7.  การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
                หลักสูตรสถานศึกษาที่มีคุณภาพ  จะต้องเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา  รวมทั้งบุคลากรที่กี่ยวข้องนอกสถานศึกษา  เพื่อระดมความคิด  ประสบการณ์มาใช้ในการกำหนดหลักสูตรและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐฏิจและสังคม  รวมทั้งเปลี่ยนไปตามธรรมชาติของการศึกษา
                การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา  มีข้อควรคำนึง 2 ประการ  คือ ต้องเชื่อมโยงกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2544 และจะต้องพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ  สถานศึกษาสามารถออกแบบหลักสูตรของตนเองได้อย่างอิสระ  โดยยึดนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหลักวิชาการในการจัดการศึกษาที่มีความถูกต้องเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ชุมชน และท้องถิ่น  มีความเป็นไปได้
                ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร
                ปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร  คือปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการยกระดับของหลักสูตรจากระดับที่เป็นขึ้นสู่อีกระดับหนึ่ง  ปัญหาอันเกิดจากการร่วมคิดร่วมทำ  ร่วมกันสร้างหลักสูตร และร่วมกันนำหลักสูตรไปใช้  มีดังนี้
1.             ปัญหาขาดครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
2.             ปัญหาการไม่ยอมรับและไม่เปลี่ยนแปลงบทบาทการสอนของครูตามแนวหลักสูตร
3.             ปัญหาการจัดอบรมครู
4.             ศูนย์การพัฒนาหลักสูตร  ไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
5.             ขาดการประสานงานที่ดีระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ
6.             ผู้บริหารต่าง ๆ ไม่สนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
7.             ปัญหาขาดแคลนเอกสาร เนื่องจากขาดงบประมาณและการคมนาคมขนส่งไม่มีประสิทธิภาพพอ
วิธีการพัฒนาหลักสูตร  มี 5 วิธีการ
1.             การพัฒนาหลักสูตรจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
2.             การพัฒนาหลักสูตรจากเบื้องล่างสู่เบื้องบน
3.             การพัฒนาหลักสูตรแบบวิธีการสาธิต
4.             การพัฒนาหลักสูตรวิธีการอย่างมีระบบ
5.             การพัฒนาหลักสูตรโดยวิธีเชิงปฏิบัติการ
การพัฒนาหลักสูตรในอนาคต
1.             พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้  (เครือข่ายวิชาการ  วิชาชีพ)
2.             พัฒนาหลักสูตรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน  (Sustainable Development)
-  จัดหลักสูตรเพื่อการพัฒนาคนต่อเนื่องตลอดชีวิต
                3.  รูปแบบหลักสูตรจะหลากหลายมากขึ้น  เช่น  หลักสูตรการศึกษาภาคพิเศษ  หลักสูตรเฉพาะกิจ  หลักสูตรฝึกอบรม
                4.  เปิดหลักสูตรนานาชาติเพิ่มขึ้น
                5.  มีการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 2 ประเทศ เช่น เวียตนาม  เขมร  ลาว  มลายู
                6.  มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น  การใช้เทคโนโลยีต้องไม่ขัดกับสังคมและสิ่งแวดล้อม  ต้องไม่ให้เทคโนโลยีเป็นนายเรา
7.  หลักสูตรและการเรียนการสอนจะต้องพัฒนาทักษะในการคิด  การศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง  และความสามารถในการสื่อสาร  พัฒนาคนให้คิดกว้าง  คิดไกล  ใฝ่รู้
8.  ให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งเรื่องที่เป็นสากล  นานาชาติ และของไทย  ต้องรู้เขารู้เรา
9.  พัฒนาหลักสูตร ส่วนกลาง 60 % ส่วนท้องถิ่น  40  %
10. จัดการเรียนการสอน โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน  ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา
11. จะต้องมีการประกันคุณภาพทางการศึกทุกระดับ